E-mail หรือ จดหมายอิเล็กทรอนิคส์เป็นบริการอย่างหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมาก จนทำให้บางคนคิดว่า E-mail คือ อินเตอร์เน็ต และอินเตอร์เน็ตคือ E-mail วิธีใช้งานอีเมลล์ก็ง่ายและมีประโยชน์มาก
การทำงานของ E-mail มีลักษณะคล้ายกับระบบไปรษณีย์ปกติ
การทำงานของ E-mail มีลักษณะคล้ายกับระบบไปรษณีย์ปกติ
1 comment:
(หมายถึงระบบที่ใช้กระดาษในการเขียนจดหมาย) กล่าวคือในระบบไปรษณีย์ปกติมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการรับส่งจดหมายคือเป็นบรุษไปรษณีย์ (ในกรณีของประเทศไทยคือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย) ถ้าเป็นในอินเตอร์เน็ตสิ่งที่ทำหน้าที่คอยรับส่งจดหมายคือบรรดาคอมพิวเตอร์ทั้งหลายที่ทำหน้าที่เป็น E-mail Server (คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการด้านจดหมายอิเล็กทรอนิคส์) ดังนั้นถ้าท่านต้องการใช้ E-mail สิ่งแรกที่ท่านต้องทำคือไปสมัครเป็นสมาชิกหรือไปทำการลงทะเบียนกับอีเมลล์เซิร์ฟเวอร์ จะเป็นเซิร์ฟเวอร์ใดก็ได้ บรรดาอีเมลล์เซิร์ฟเวอร์ทั้งหลายนี้สามารถจัดแบ่งออกได้เป็นสามประเภทดังนี้
อีเมลล์เซิร์ฟเวอร์ของหน่วยงานที่ท่านทำการศึกษาอยู่หรือทำงานอยู่ เช่น นิสิต อาจารย์ ข้าราชการ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็สามารถลงทะเบียนหรือสมัครเป็นสมาชิกได้กับคอมพิวเตอร์ที่เป็นอีเมลล์เซิร์ฟเวอร์ของจุฬา ฯ ได้
อีเมลล์เซิร์ฟเวอร์ของ ISP ( Interner Service Provider - หน่วยงานที่ให้บริการอินเตอร์เน็ต ) เช่น KSC เป็นต้น ท่านสามารถสมัครหรือลงทะเบียนกับหน่วยงานประเภทนี้ได้ แต่ต้องเสียค่าสมาชิกให้แก่หน่วยงานประเภทนี้ด้วย
อีเมลล์เซิร์ฟเวอร์ของหน่วยงานที่ให้บริการฟรี เป็นบริการฟรีที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปลงทะเบียนหรือสมัครเป็นสมาชิกได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เช่น hotmail เป็นต้น
ภายหลังจากที่ท่านลงทะเบียนกับอีเมลล์เซิร์ฟเวอร์แล้ว ท่านก็สามารถใช้อีเมลล์ได้ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการเขียนจดหมาย ส่งจดหมาย และรับจดหมาย มีอยู่หลายตัวด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น pine, Netscape, Outlook เป็นต้น ท่านจะเลือกใช้ซอฟต์แวร์ตัวไหนก็ได้แล้วแต่ความชอบใจของตัวท่านเอง ท่านไม่จำเป็นต้องรู้วิธีใช้ซอฟต์แวร์ด้านอีเมลล์ทุกตัว ท่านรู้เพียงตัวเดียวก็พอ
ตัวจดหมายอิเลคทรอนิคส์แบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่คือ
Heading ส่วนนี้ใช้ระบุ E-mail address ของผู้รับจดหมาย และ Attachment (สิ่งที่ส่งมาด้วย)
Body ส่วนนี้เป็นส่วนที่เป็นเนื้อความจดหมาย
อีเมลล์แอดเดรส์ของผู้รับจดหมายประกอบด้วยสองส่วนคือ ส่วนที่เป็นรหัสบัญชี( user account) ของผู้รับจดหมาย และส่วนที่เป็นชื่อของอีเมลล์เซิร์ฟเวอร์ของผู้รับ ทั้งสองส่วนนี้ถูกคั่นด้วยเครื่องหมาย @ ตัวอย่าง E-mail address
vapisit@pioneer.chula.ac.th รหัสบัญชีคือ vapisit และอีเมลล์เซิร์ฟเวอร์คือ pioneer.chula.ac.th
kpeter@yahoo.com รหัสบัญชีคือ kpeter และอีเมลล์เซิร์ฟเวอร์คือ yahoo.com
attachment (สิ่งที่ส่งมากับอีเมล์)อาจเป็นไฟล์ประเภทไหนก็ได้ เช่น ไฟล์ที่เป็นข้อความล้วน ๆ (text) ไฟล์ที่ข้อมูลรูปภาพ กล่าวคือเป็นสื่ออะไรก็ได้
ประโยชน์ที่ท่านที่เป็นผู้ใช้อีเมลล์จะได้รับมีดังนี้
ท่านสามารถส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เมื่อไรก็ได้ตามที่ท่านต้องการ จะเป็นกลางคืนหรือกลางวันก็ได้
จดหมายจะถึงมือผู้รับภายในเวลาอันรวดเร็ว อาจภายในไม่กี่นาที หรือภายในไม่กี่ชั่วโมง ไม่ว่าผู้รับจดหมายนั้นจะอยู่ใกล้หรือไกล
ผู้รับจดหมายก็สามารถรับและเปิดอ่านจดหมายได้เมื่อไรก็ได้ตามที่เขาต้องการ
ท่านสามารถส่งจดหมายไปยังผู้รับคนเดียว หลายคน หรือจำนวนมากเป็นร้อยคน เป็นพันคนได้ ซอฟต์แวร์ของอีเมล์ส่วนใหญ่จะมีวิธีช่วยให้ท่านเก็บรายชื่อพร้อมทั้งอีเมลล์แอดเดรสของผู้ที่ท่านต้องการส่งจดหมายไปหา และช่วยจัดเป็นกลุ่มด้วย ถ้าท่านส่งจดหมายไปยังกลุ่มก็หมายความว่าทุกคนในกลุ่มก็ได้รับจดหมายนั้น
ท่านสามารถเก็บจดหมายที่ได้รับ(จากเพื่อน ผู้ร่วมงาน หรือหัวหน้า)บางฉบับไว้ได้ ถ้าท่านเห็นว่าจดหมายนั้นมีความสำคัญ เช่น ไว้เตือนความจำว่ามีงานอะไรต้องทำ หรือ ได้ตกลงเรื่องอะไรไว้กับใครบ้าง
ปัญหาที่ท่านอาจพบในการใช้อีเมลล์
จดหมายหาย ปัญหานี้อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดพลาดของคน ความผิดพลาดของซอฟต์แวร์ ความล้มเหลวของฮาร์ดแวร์ เป็นต้น
จดหมายส่งไปผิด คือไปยังผู้รับผิดคน ปัญหานี้อาจเกิดการที่ระบุอีเมลล์แอดเดรสของผู้รับผิด
การปลอมจดหมาย
Post a Comment